การแปล – วิสัยทัศน์ของเรา

Traduttore, traditore!

“นักแปลเป็นคนทรยศ!” วลีภาษาอิตาเลี่ยนนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และเป็นคำสรุปของสิ่งที่แปลไม่ได้ มันส่องกระจ่างเรื่องเข้าใจผิดที่แผ่ขยายไปทั่วว่า การสื่อสารคำต่อคำระหว่างสองภาษาใดเป็นเรื่องง่าย และการแปลเป็นขบวนการอัตโนมัติ ดูเหมือนว่าตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว นักแปลไม่มีอุปสรรคใดเมื่อแปลภาษา งานแปลเป็นเรื่องไร้ประโยชน์เมื่อก่อนสมัยหอคอยบาเบลแห่งเมืองบาบิโลน จากนั้นมาความเชื่อนี้ก็แผ่ขยายไปทั่ว เป็นเครื่องสนับสนุนทางอ้อมของความเชื่อโบราณอันคงอยู่ในทุกวรรณคดีนี้ อาจเป็นความจริงที่ว่าเรายังไม่เคยพบหลักจารึกที่มีสองภาษาสมัย 3 พันปีก่อนคริสตศักราช ในสมัยนั้นระบบการจารึกของชาวสุเมเรียน ชาวอียิปต์โบราณ ชาวอัคคาเดียนและชาวเอรามิตได้มีการใช้ต่างแพร่หลายแล้ว แต่ยังไม่จำเป็นที่ต้องเขียนเป็นสองภาษา คาดว่าความจำเป็นนั้นน่าจะเกิดขึ้นในจารึกของตะวันออกกลางและจากเหล่าทูต

เรื่องจากคัมภีร์ไบเบิลที่เรารู้จักกันดีนี้ เหมือนจะสะท้อนเรื่องเล่าขานของชาวสุเมเรียนที่ชื่อว่า “เอ็นเมอร์ก้าร์และเทพเจ้าแห่งอรัตฐา” เล่าว่าเอ็นเมอร์ก้าร์แห่งเมืองอูร์ วิงวอนให้เทพเอ็นกิรื้อร้าวสหภาพทางภาษาศาสตร์แห่งมนุษย์ การตีเรื่องในสมัยใหม่เห็นว่าเอ็นเมอร์ก้าร์แห่งเมืองอูร์ เปรียบได้กับนิมรุดจากคุมภีร์ไบเบิลและอัลกุรอาน ทั้งยังมีชื่อจากตำนานว่า จิลกาเมส ในวัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย ทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นถึงสิ่งที่นักประวัติศาสตร์อิสลามคมสำคัญ นายอาล ทาบาริ ได้อ้างไว้ในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ “ประวัติศาสตร์แห่งศาสดาและกษัตริย์” อันเกี่ยวเนื่องกับหอคอยนิมรุดและบทลงโทษแห่งอัลลา อ้างถึงความสับสนแห่ง 72 ภาษาในเวลาต่อมา

เราจึงคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง หากความสับสนทำให้เกิดภาษาขึ้น จุดศูนย์กลางแห่งความมุ่งมั่นของเราจะอยู่ที่ความเข้าใจและความระลึกระวัง เรามุ่งแปลความหมาย และตีความออกมาในภาษาจุดหมายที่เทียบเท่าทุกบทความ ด้วยความมุ่งมั่นนี้ เราจึงรู้สึกเหมือนว่าเป็นแหวนวงสุดท้ายที่เกี่ยวโยงผู้จารึกกับนักแปลชาวอียิปต์

อียิปต์ – ดินแดนแห่งปีระมิด

อียิปต์ – ดินแดนแห่งการแปลสาร

ด้วยเหตุที่ว่าภาษาสากลภาษาแรกของโลกคือภาษาเซมิติกของอัคเคเดียน และเมโสโปเตเมีย รวมทั้งภาษาในกลุ่มคืออัสซีเรียน บาบิโลเนียน ทำให้เกิดความสนใจในกลุ่มผู้ปกครอง และได้ว่าจ้างผู้จารึกภาษาชั้นสูง ที่พูดได้หลายภาษา เมื่อพระเจ้าฟาร์โรห์ต้องการสือสารกับกษัตริย์ฮิตติต (ปัจจุบันคือบริเวณภาคกลางของตุรกี) กษัตริย์อัสสิเรีย บาบิโลเนีย มีตานเนีย (อาณาจักรเฮเรียน ซึ่งปัจจุบันคือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย) และกษัตริย์อิรัม (ปัจจุบันคือภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน) หรือกษัตริย์ที่สำคัญน้อยกว่าแห่งอาณาจักรคาณานิตของราชวงศ์อูการิท และบิโบส ราชสารจะจารึกเป็นภาษาคูไนฟอร์มอัสเซเรียนหรืบาบิโลเนียนเสมอ ในความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรกว่า 3 400 ปีนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า แผงเทล อมาร์น่า คือแผงดินเหนียวเป็นจำนวนร้อยๆ จารึกอักษรการสือสารระหว่างพระอเม็นโฮเท็ปที่สามแห่งอัคเฮ็นนาเท็นกับกษัตริย์อาณาจักรเอเชีย ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับความช่วยเหลือจากนักแปลในสมัยนั้น

เมื่อก้าวเข้ามาใกล้สมัยปัจจุบันอีกพันปี และพบกับปโตเลมีที่สอง ฟาร์โรห์เชื้อสายมาเซโดเนียน เชิญนักปราชญ์ชาวยิว 72 คนให้แปลคัมภีร์ไบเบิล (โทราห์) เป็นภาษากรีกโบราณ อันเป็นภาษาสากลแถบเมดิเตอเรเนียนในขณะนั้น เหล่านักปราชญ์แปลเสร็จภายใน 72 วัน โดยพำนักอยู่ที่เกราะฟาร์โรห์ในเมืองอเล็กซองเดรีย ปัจจุบันอยู่ระหว่างราชวังราส เอล ทินและปราสาทเคว็ทเบย์ ทุกเช้าเหล่านักปราชญ์มาที่ราชวังพระฟาร์โรห์ผู้แตกฉาน เพื่อขอบคุณพระองค์ และขอพรพระเจ้าให้อยู่คู่พระองค์ต่อไป

กว่า 750 ปีต่อมา เมื่อปี 196 ก่อนคริสตศักราช

นักจารึก และนักแปลสารของพระเจ้าปโตเลมีที่ 5 ทำเอกสารเป็นสองภาษา และมีคัมภีร์สามเล่ม คือ ภาษาเฮียโรกริฟฟิกและเดโมทิกแห่งอียิปต์ (เดโมทิกเป็นภาษาที่ใช้จารึกทางการปกครองแห่งกษัตริย์ฟาร์โรห์) และภาษากรีกโบราณ เอกสารนั้นทำขึ้นอย่างละสองฉบับ ฉบับแรก จารึกไว้อย่างถาวรบนเสาหินแกรนิตหลักที่สอง ณ ศาสนสถานของอีสิส เมืิองพิเล ทางใต้ของอัสวาน (ซีเรีย) ฉบับที่สองจารึกไว้บนแผ่นหินซึ่งหายสาบสูญไปกว่าพันปี และเมื่อมีการค้นพบใกล้กับเมืองราชิด (โรเซ็ทต้า) แถบลุ่มแม่นํ้าไนท์ ห่างจากบริเวณที่พบฉบับแรก 1070 กิโลเมตร ผู้คนเรียกขานจารึกฉบับนี้ว่าเป็นแผ่นหินแห่งโรเซ็ทต้า (the Rosetta Stone) และเนื่องด้วยคุณค่าของการแปลสารนี้ที่ทำให้การถอดรหัสสมัยใหม่ของภาษาเฮียโรกริฟฟิก สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น กว่า 500 ปีต่อมา ในคริสศตวรรษที่ 4 อียิปต์การเป็นศูนย์รวมแห่งทุกศาสนา ในสมัยนั้นมีการแปลสารภาษาคอปติก (Coptic) ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์เค็บปาเรีย คัมภีร์สินสิส บทความและงานเขียนชิ้นเอกอื่นๆ ของมานิ นักปราชญ์ชาวเปอเชียผู้ก่อตั้งลัทธิมานิชาอิส ที่ถูกค้นพบในต้นคริสศตวรรษที่ 20 เมือง Armant(ทางใต้ของเมืองลุกซอร์) ในเขตโอเอซิสดั๊กล่า และในเมืองฟายูม อันแสดงให้เห็นถึงการแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางของลัทธิแรกในโลก ครอบคลุมจากเขตริมมหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงแปซิฟิค ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเกิดขึ้น ด้วยวาระอันชาญฉลาดของเหล่านักแปลสารภาษาคอปติกแห่งมานิชาเอียน ปัจจุบันเราสามารถรื้อฟื้นคำสอนของนักปรัชญาชาวอิหร่านผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเมื่อครั้งนั้นได้ถูกประหารโทษโดยจักรพรรดิ์ซาสซานิสแห่งอิหร่าน และอัล นาดิมได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งในงานเขียนฟิริสต์ (Fihrist) ของเขา กว่า 700 ปีให้หลัง ไคโร เมืองอิสลามแห่งอียิปต์ยังเป็นศูนย์ที่ดึงดูดให้ไมโมนิตส์ นักปรัชญาชาวยิวคนสำคัญ เกิดที่เมืองกอร์โดบา อพยพจากอันดาลูเซียและโมรอคโคมาอาศัย เขียนและแปลสารเหมือนกับนักปราชญ์คนอื่นๆ ที่เมืองไคโร เมื่อตอนเสร็จจากการรักษาปรนนิบัติพระเจ้าซา ลาดิน เพราะเขาเป็นอายุรเวชส่วนตัวขององค์พระกษัตริย์ ฉะนั้น เราจึงมุ่งมั่นสู่ความยอดเยี่ยม โดยเฉพาะการเป็นนักแปลสาร และไม่เป็นคนทรยศ